

แนวคิดความยั่งยืน(Sustainability)
เป็นแนวคิดที่มากกว่าเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ปลูกต้นไม้ แต่เป็นการที่ทำให้ธุรกิจและรายละเอียดของธุรกิจนั้น สอดคล้องไปกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมและความต่อเนื่อง ดังนั้น หลายองค์กรทางธุรกิจจึงให้ความสำคัญกับความยั่งยืน (Sustainability) กันอย่างแพร่หลาย โดยมุ่งเน้นการรักษาสมดุลธรรมชาติและธรุกิจ
- * สมดุลด้านสังคม(Social)
- * สมดุลด้านเศรษฐกิจ(Economic)
- * สมดุลด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental)
ซึ่งแนวคิดธุรกิจแบบยั่งยืน(Sustainability)นั้น เป็นการพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยมิได้มุ่งเน้นเพียงผลกำไรของบริษัทเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับสังคมภายในและภายนอก สังคมรอบข้าง รวมทั้งการใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม เช่น กระบวนการผลิต ความใส่ใจในรายละเอียดของธุรกิจที่จะไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม ซึ่งกลายเป็นเทรนด์(trend)การสร้างธุรกิจยุคใหม่ที่ยั่งยืน
3 Pillars of Sustainability
3 เสาหลักของความยั่งยืน

ความคิดริเริ่มในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน ลูกค้า และพนักงาน

ความคิดริเริ่มที่ทำให้มั่นใจว่าธุรกิจสามารถเติบโตได้ในขณะที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวเหล่านี้

ความคิดริเริ่มที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า

Socio-Economic
- Employment การจ้างงาน
- Training & Development การฝึกอบรมและการพัฒนา
- Local Economy เศรษฐกิจท้องถิ่น
- Entrepreneurship การเป็นผู้ประกอบการ
- Social & Community สังคมและชุมชน
- Sponsorship การสนับสนุน
Eco-Economy
- resource efficiency ประสิทธิภาพของทรัพยากร
- energy efficiency ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- reuse ใช้ซ้ำ
- recycling การรีไซเคิล
Socio-Environmental
- Health & Safety สุขภาพและความปลอดภัย
- Climate Change อากาศเปลี่ยนแปลง
- COMAH/SEVES
- Crisis Management การจัดการวิกฤต
- Business Continuity ต่อเนื่องทางธุรกิจ
4-R Concept
แนวคิด 4 R


หลัก 4R
คือ Eco Design ซึ่งมีกรอบความคิดหลักที่ครอบคลุมวงจรการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งออกเป็นช่วงต่างๆ ได้ดังนี้
การวางแผนการผลิต (Planning Phase) -- > ช่วงการออกแบบ (Design Phase) -- > ช่วงการผลิต (Manufacturing Phase) -- > ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase) -- > และช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal Phase)
ซึ่งก็อิงตามหลักการสำคัญของ 4 R นั่นเอง

Re-Duce
ลดการผลิต
ก็คือการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่าง ๆ ของวงจรผลิตภัณฑ์ เช่น การลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ เริ่มตั้งแต่ลดการใช้กระดาษในการออกแบบไปเลย ลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ ลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน

Re-Use
ใช้ซ้ำได้
ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตาม หรือที่เรียกว่า การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) เช่น การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการผลิตรุ่นต่อไปได้

Re-Cycle
นำกลับมาใช้ใหม่
หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ แล้วนำกลับมาใช้โดยการออกแบการใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ จะต้องเอื้อต่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle) เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือกระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมาใช้

Re-Pair
ซ่อมแซมได้
ก็คือการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการซ่อมบำรุงได้ง่ายจะเป็นการยืดอายุช่วงชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย
UPCYCLING
ปรับเปลี่ยน สร้างสรร เพื่อเพิ่มมูลค่า







ข้อมูลจาก : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
กระบวนการ Upcycling
- คัดแยก ทำความสะอาด
- ตัดบดพลาสติกแยกเป็น 3 ชนิด (ฝา, ฉลาก, ขวด)
- หลอมให้เป็นเม็ด
- นำไปทำเป็นเส้นใยแบบเกรดพิเศษ
- ผลิตภัณฑ์ใหม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- สร้างรายได้

ECO Touch
สำหรับขวดพลาสติกที่สามารถนำมา Upcycling ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนต่ำกว่ากระบวนการอื่นๆ คือ ขวดชนิด PET (Polyethylene Terephthalate) ขวดพลาสติกใสที่นิยมนำมาทำขวดน้ำดื่ม น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เพราะมีคุณสมบัติทนความเป็นกรด และสามารถกันการซึมผ่านออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี
การรีไซเคิลขวดพลาสติกยังมีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานได้ เนื่อจากขวดพลาสติกทำมาจากน้ำมันดิบ เมื่อมีการรีไซเคิลขวดพลาสติก 1 ตัน จึงส่วนช่วยลดการใช้น้ำมันได้ 3.8 บาร์เรล หรือคิดเป็น 159.11 ลิตร และช่วยประหยัดพื้นที่ในการฝังกลบขยะได้
คุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ขวดพลาสติก PET เข้าไปมีบทบาทในเทรนด์การทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (sustainability) ขององค์กรต่างๆ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างผลิตภัณฑ์จากขวดพลาสติกจากหลายแบรนด์
CUSTOMER & PARTNERSHIPS
ความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน




